ซอมบี้เป็นคำเรียกของคนที่ตายไปแล้วแต่กลับมาเดินเหินได้ราวกับมีชีวิตอีกครั้งตามความเชื่อของลัทธิวูดู เรื่องราวในลัทธิวูดูนั้นกล่าวถึงซอมบี้ว่าถูกควบคุมด้วยเวทมนตร์ให้ทำงานใช้แรงงานให้พ่อมด แต่ภาพลักษณ์ของซอมบี้ในวัฒนธรรมสมัยใหม่ซึ่งปรากฏผ่านสื่อต่างๆนั้น ต่างจากในลัทธิวูดูมาก โดยสาเหตุสำคัญนั้นมาจากความสำเร็จของภาพยนตร์เรื่อง
Night of the Living Dead ของ
จอร์จ โรเมโรซอมบี้ในลัทธิวูดูในลัทธิวูดูนั้น ซอมบี้เป็นศพที่ถูกปลุกให้กลับมาอีกครั้งโดยพ่อมดที่เรียกว่า
บอคอร์ (bokor) ซอมบี้นั้นไม่มีความคิดของตนเองและจะทำงานรับใช้ตามที่เจ้านายต้องการ
เชื่อกันว่าถ้าให้ซอมบี้กินเกลือแล้ว ซอมบี้ก็จะกลับไปตายที่หลุมศพของตนอีกครั้งในปีพ.ศ. 2480
โซรา เนียล เฮิร์สตัน (Zora Neale Hurston) ซึ่งกำลังศึกษาเรื่องคติชนวิทยาของประเทศเฮติได้ พบกับสตรีที่ครอบครัวอ้างว่าเป็นซอมบี้ของเฟลิเซีย เฟลิกซ์ เมนเทอร์ ซึ่งเสียชีวิตและได้รับการฝังเมื่อสามสิบปีก่อนหน้านั้น เฮิร์สตันได้ตามสืบข่าวลือเรื่องของคนที่ถูกยาที่มีผลทางจิตเข้าไป แต่ก็ไม่สามารถหาผู้ที่ยอมให้ข้อมูลที่ชัดเจนได้
เธอเชื่อว่ารากฐานของลัทธิวูดูนั้นน่าจะเป็นแพทยศาสตร์ที่มีการใช้ยาซึ่งวิทยาศาสตร์ยังไม่รู้จักมากกว่าจะเป็นพิธีกรรมเวท ดาวิสได้เขียนถึงเรื่องซอมบี้ในทางแพทยศาสตร์จากประสพการณ์ที่เดินทางไปเฮติในปีพ.ศ.2525 ไว้ในหนังสือสองเล่มคือ The Serpent and the Rainbow
และ Passage of Darkness: The Ethnobiology of the Haitian Zombie
ดาวิสระบุว่าซอมบี้นั้นเกิดจากผงแป้งสองชนิดเข้าไปในกระแสเลือด โดยแป้งชนิดแรกคือ
coup de poudre ซึ่งมีพิษที่เรียกว่า tetrodotoxin ซึ่งเป็นพิษกับระบบประสาทและพบได้ในเนื้อของปลาปักเป้า ส่วนแป้งประเภทที่สองนั้นเป็น
ยากล่อมประสาท เมื่อใช้รวมกันแล้ว บอคอร์จะสามารถควบคุมเหยื่อผู้เคราะห์ร้ายได้ดาวิสบรรยายถึงกระบวนการนี้ว่า
ก่อนอื่นนั้นผู้เป็นซอมบี้จะอยู่ในสภาพเหมือนตาย จากนั้นก็จะตื่นขึ้นมาด้วยสภาพจิตใจที่สับสน และบอคอร์ก็จะใช้ยาและการสะกดจิตซึ่งเสริมโดยความเชื่อของเฮติให้คิดว่าตนตายไปแล้วและกลายเป็นซอมบี้ซอมบิ (Zombi) ยังเป็นชื่อหนึ่งของโลอา งูดัมบาลา (Damballah) ซึ่งมีต้นกำเนิดจากแถบไนเจอร์-คองโก ลัทธิวูดูในแอฟริกาตะวันตก
Credit :
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%8B%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%9A%E0%B8%B5%E0%B9%89#cite_note-1